Feeds:
เรื่อง
ความเห็น

1  เมษายน

บุญราศี  นูโน  อัลวาเรส  เปเรรา  ภราดา

นูโน  เกิดในปี ค.ศ.1360  ในฐานะที่เป็นทหารท่านได้ทำการรบเพื่ออิสรภาพของประเทศโปรตุเกส เมื่อภรรยาของท่านสิ้นชีวิตแล้ว ท่านได้เข้าบวชในคณะคาร์แมล เป็นภราดาสงเคราะห์ในอารามซึ่งท่านเองได้สร้างขึ้นที่ลิสบอน โดยใช้นามว่า นูโน แห่งเซนต์แมรี่ในปี ค.ศ.1423 ท่านได้สิ้นชีวิตที่นีในปี ค.ศ.1431 หลังจากที่ได้เจริญชีวิตรำพึงภาวนา ชีวิตของท่านเด่นในเรื่องการภาวนาการใช้โทษบาป และความศรัทธาฉันบุตรต่อพระมารดาพระเจ้า

17  เมษายน

บุญราศี  บัปติสต์  สปาญอลี  พระสงฆ์

บัปติสต์  สปาญอลี  เกิดวันที่  17  เมษายน  ค.ศ.1447 ที่เมืองแมนตูอา  ประเทศอิตาลี ในวัยหนุ่มท่านได้เข้าบวชในคณะคาร์แมลแห่งแมนตูอาที่เมืองแฟร์รารา  ได้ปฏิญาณตนปี ค.ศ.1464 หลังจากนั้นได้ดำรงตำแหน่งอธิการของอารามคาร์แมลแห่งแมนตูอาถึงหกสมัย และได้รับเลือกเป็นอัคราธิการในปี ค.ศ.1513 ท่านได้ถึงแก่มรณภาพที่เมืองแมนตูอา วันที่ 20 มีนาคม ค.ศ.1516 ท่านเป็นกวีที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในสมัยนั้น ท่านได้ประพันธ์บทกวีมากมายเพื่อรับใช้พระคริสตเจ้าและได้ใช้มิตรภาพระหว่างท่านกับบรรดานักวิชาการเป็นโอกาสสนับสนุนพวกเขาให้ดำเนินชีวิตแบบคริสตชน

18  เมษายน

บุญราศี  มารีย์  แห่งการบังเกิดเป็นมนุษย์  ภคินี

บาร์บ  อาวริลโญ  เกิดที่ปารีสในปี ค.ศ.1566  เมื่ออายุ 16 ปีได้สมรสกับปิแอร์  อคารี และได้ให้กำเนิดบุตรเจ็ดคน แม้จะต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวและความยากลำบากมากมายเธอก็สามารถบรรลุถึงความสูงส่งแห่งชีวิตจิต  เนื่องด้วยอิทธิพลจากผลงานของท่านนักบุญเทเรซาแห่งพระเยซู และการได้ติดต่อกับท่านนักบุญเองในขณะที่เธอเข้าฌาน เธอจึงพยายามที่จะนำคณะภคินีคาร์เมไลท์ที่ถือพระวินัยเดิม เข้ามาในประเทศฝรั่งเศส หลังจากที่สามีได้สิ้นชีวิตแล้ว เธอได้สมัครเป็นภคินีแผนกสงเคราะห์ ได้รับนามใหม่ว่า “มารีย์ แห่งการบังเกิดเป็นมนุษย์” และได้ถวายปฏิญาณที่อารามคาร์แมล เมืองอาเมียนส์ในปี ค.ศ.1615 เธอเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลสำคัญหลายคนในสมัยนั้น ซึ่งรวมทั้งนักบุญฟรังซิส เดอ ซาลส์ด้วย ลักษณะเด่นของเธอคือ จิตตารมณ์แห่งการภาวนาและความร้อนรนเป็นพิเศษเพื่อการเผยแพร่ความเชื่อคาทอลิก เธอได้ถึงแก่มรณภาพที่เมืองปองตัวส์  ในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ.1618

23  เมษายน

บุญราศี  เทเรซา  มารีย์ มาเนตตี แห่งไม้กางเขน   พรหมจารี

เกิดที่ Campi Bisenzio เมืองฟลอเรนซ์  ที่นี่เธอได้ตั้งคณะภคินีคาร์เมไลท์แห่ง น.เทเรซา (The Congregation of Carmelite Sisters of St.Teresa) ในปี ค.ศ.1874 และได้ส่งบรรดาภคินีไปก่อตั้งอารามที่เลบานอนและแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ด้วย เธอเจริญชีวิตตามธรรมล้ำลึกแห่งไม้กางเขนด้วยความชื่นชมยินดีทั้งกายและวิญญาณ และนอบน้อมตามน้ำพระทัยพระเป็นเจ้าอย่างเต็มที่ คุณธรรมดีเด่นของเธอคือความรักต่อศีลมหาสนิท และความเอาใจใส่เยี่ยงมารดาต่อบรรดาเด็ก ๆ และคนยากจน เธอถึงแก่มรณภาพที่ Campi Bisenzio วันที่ 23 เมษายน ค.ศ.1910

ขอเชิญสมาชิกฆราวาสคาร์เมไลท์แห่งกรุงเทพฯ เข้าร่วมประชุม ครั้งที่ 4/2010 ในวันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน 2010 เวลา 14.00 น. ณ อารามคาร์แมล กรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นวันสมโภชปัสกา จะมีมืิสซาสมโภช เวลา 14.00 น. และเยี่ยมคำนับ อธิการิณี และพี่น้อง เซอร์ ในอารามด้วย

เชิญสมาชิกฯ ร่วมประชุมตามปกติ ในวันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม 2010 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้นใต้ดิน สำนักมิสซังคาทอลิก กรุงเทพฯ

ผู้สนใจ ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก ขอเรียนเชิญเข้าร่วมประชุมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

ยินดีต้อนรับทุกท่านเสมอ

รายงานการประชุม

ของนักบวชฆราวาส คณะคาร์แมล ชั้น 3

ประจำวันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 10.00 น.

คณะกรรมการผู้เข้าร่วมประชุม

คุณพ่อ ประยุทธ  ศรีเจริญ            จิตตาธิการ        ซ. แดงต้อย  จิรานนท์                  อธิการ

ซ. ลัดดาวรรณ์  เวชเนียน             เลขา                   ซ. มาลีรัตน์  ประทีปนาฏศิริ          เหรัญญิก

ซ. นงลักษณ์  กอหะสุวรรณ          ที่ปรึกษา

ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด  36  ท่าน

คุณพ่อประยุทธ            นำสวดเปิดประชุม  สวดทำวัตร และบทเร้าวิงวอนแม่พระ

วาระที่ 1 คุณพ่อประยุทธได้เชิญ คุณพ่อประจักษ์  บุญเผ่า  มาพูดเกี่ยวกับเรื่อง “กฎหมายของพระศาสนจักร”  คุณพ่อทำงานเรื่อง อบรมคู่แต่งงาน  เรื่องวินิจฉัยคดีแต่งแล้วเกิดการหย่าร้าง คุณพ่อพูดถึงเรื่อง การสบถ หมายความว่า การกล่าวถ้อยคำเพื่อให้คนเชื่อโดยอ้างอิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษตน บางคนใช้นามของพระเจ้า แม่พระ นักบุญต่างๆ มาอ้าง เป็นการไม่สมควรใช้นามของพระเจ้า เป็นการทำไม่ได้ การสาบาน คือ การกล่าวปฏิญาณโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเป็นพยาน หรือการเรียกขานนามพระเจ้ามาเป็นพยานต่อความจริง จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะเป็นเรื่องจริง การบนบาน คือ การขอต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยเหลือเมื่อสำเร็จจะทำตามสัญญาที่ให้ไว้ ทำได้แต่เมื่อสำเร็จแล้วต้องรีบแก้ทันที แต่มีพระบัญญัติประการที่ 2 ของพระเป็นเจ้า บอกว่า “อย่าออกนามพระเจ้าโดยไม่สมเหตุ” ดังนั้นเราจึงไม่ควรใช้นามของพระเยซู แม่พระ นักบุญต่างๆ  มาพูดในทางที่ผิด  ควรให้ความเคารพนับถือมากกว่า  สมาชิกของเรามีข้อสงสัยหลายอย่างจึงถามคุณพ่อ   แต่เวลาไม่พอ ถ้าใครอยากรู้มากกว่านี้ก็ไปถามส่วนตัวได้

วาระที่ 2 ซ.แดงต้อย กล่าวขอบคุณ คุณพ่อประจักษ์  ที่ให้ความสว่างในเรื่อง ของการใช้คำพูดเกี่ยวกับนามของพระเจ้ามากขึ้น

วาระที่ 3 คุณพ่อประยุทธ  ให้ดูประเทศเฮติ ที่เกิดแผ่นดินไหวเสียหายมาก แต่ที่วัดแห่งหนึ่งจะเหลือเสาไม้กางเขนและมีองค์พระเยซูอยู่ด้วย ที่ไม่เสียหายด้วยนั้น เราจึงควรเข้าพึ่งพระองค์และยึดพระองค์ไว้ให้แน่นเพราะเป็นทางรอดของเราทางเดียวเท่านั้น

–          วันพฤหัสบดีที่ 11 ก.พ. 53   เป็นวันแม่พระประจักษ์ที่ลูร์ด เป็นวันผู้ป่วยโรคด้วย

–          วันพุธที่ 17 ก.พ. 53  เป็นวันพุธรับเถ้า เราควรจำศีล อดอาหาร พลีกรรม สวดภาวนาใช้โทษบาปมากขึ้นในช่วงเทศกาลมหาพรตนี้

–          วันอาทิตย์ที่ 4 เม.ย. 53 เป็นวันปัสกา คุณพ่อให้พวกเราไปเจอกันที่อารามคาร์แมล กรุงเทพฯ และจะประชุมกันที่นั้นเลยทีเดียว เวลา 14.00 น.

วาระที่ 4 ซ. ลัดดาวัรรณ์ อ่านรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

สวดปิดประชุม

จงสรรเสริญพระเยซูเป็นนิจนิรันดร์

อันนา ลัดดาวรรณ์  เวชเนียน

1. เทเรซา แดงต้อย จิรานนท์
2. เทเรซา ราศรี จเรินสุข
3. เรยีนา วิลาวัลย์ ลาชโรจน์
4. เทเรซา นงลักษณ์ กอหะสุวรรณ
5. เทเรซา มาลีรัตน์ ประทีปนาฏศิริ
6. เทเรซา กมลวรรณ ศิริทัศน์
7. ราฟาแอล กิติชัย สมบัติวาณิชย์
8. อักแนส จินดา จิระชัยอารีย์
9. มารีอา จันทรา อมรรัตน์ศิริ
10. มาการีตา เฉลียว พลอยสุวรรณ
11. โทมัส กิรนันท์ พลวรรณาภา
12. มารีอา ทองดี คำสุข
13. มารีอา ทิพวรรณ ก้าวเดชคุณ
14. มารีอา ทัศนีย์ แซ่เจียว
15. เทเรซา อังคณา เอกโชติกุล
16. เอลีซาเบท นวพร สิทธิสังข์
17. อากาทา แน่งน้อย ประดิษฐศิลป์
18. มารีอา บุญชุบ เหยื่อแสวง
19. มารีอังเจลา บุญยรา ภัทโรดม
20. ยอแซฟ บัญชา หอมพิกุล
21. มารีอา ประนอม โกศาคาร
22. มารีอามักดาเลนา พร้อมจิตร กตัญญูทวีทิพย์
23. อากาทา เพ็ญศรี เชียวนาวิน
24. มารีอา ภาวนา อมรินทร์
25. ยวงแห่งไม้กางเขน ภิรมย์ จเรินสุข (ย้ายไปอยู่อุดรธานี)
26. มอนิกา มณฑา วงษ์วิสุทธิกุล
27. โรซา อำไพ สังฆาวารี
28. เทเรซา ลัดดา แซ่ฉั่ว
29. อันนา มาลินี จารุสุขถาวร
30. โรซา วิเชียร ทองสุข
31. วินีเฟด วินนี เจีย
32. มารีอา สมจิตร รัตนอมรกุลชัย
33. อันนา สมสุข จูทะโยธิน
34. เทเรซา สุขุมาล เอกโชติกุล
35. อันนา สุรณี วิรุณวงศ์
36. กาทารีนา สุรินทร์ วิรุณวงศ์
37. อากาทา อรวรรณ ฉัตรวัฒนาสกุล
38. ยวงบัปติสตา อนันต์ ยารสเอก
39. มารีอามักดาเลนา อารียา มนูพิบูลย์
40. นาตาเลีย อัมพร สังวาลเพชร์
41. มารีอา ฤทัย รุ่งเรืองผล
42. มารีอา มนัสนันท์ สุพันธ์มณี
43. เทเรซา นภาพร แซ่กุ่ย
44. มารีอา นงเยาว์ ผ่องใส
45. อันนา ลัดดาวรรณ เวชเนียน
46. แบร์นาแด๊ต ทัศนีย์ หฤฎางค์กุล
47. ยอแซฟ ณัฐวุฒิ ลาจันทึก
48. อันนา สอิ้ง เล็กประเสริฐ
49. มารีอา ทัศนีย์ ธิติธวัชเดช
50.มารีอา สมนึก สุเสรีชัย
51. มารีอา กิ่งพราว นพคุณทอง
52. เซซีลีอา ชนิดา จันทร์ธีรยุทธ์
53. เทเรซา ลักษณา สงวนวงศ์
54. เซซีลีอา สุนันทา นุ่มฤทธิ์
55. มารีอา ญาณาภรณ์ จันทรุพันธ์
56. เอลีซาเบท วิสุทธิ์ศรี สุขชัย
57. อันนา จินดาภรณ์ ชมจินดา
58. มารีอา ทิพย์กมล ธีระชาติกุล
59. เทเรซา สุปัน ยุกติรัตน์
60. มารีอา วรรณา เมธิพิทักษ์กุล
61. มอนิกา ธนิษฐา ทรรพนันทน์ ใจดี
62. มารีอาเปาลา ทัศนีย์ ประเสริฐสุข
63. อันนา สมลักษณ์ ยันต์เจริญ
64. ยอแซฟ พิทักษ์ ใจดี
65. มารีอา ชวัลรัตน์ วาจรีต
66. ลูซีอา เรียม นันทนิตติ
67. เทเรซา ประจิต พรรักษา
68. อันนา วิไลวรรณ เอี่ยมวิศิษฏ์
69. อักแนส อลิชา ตัน
70. มารีอา มัณฑณา จันทรา
71. เทเรซา ปวีณา แซ่กุ่ย
72. เทเรซา ณัฐตณา สนามชัย
73. เทเรซา ศรัญญา สนามชัย
74. ยูจีนี วลี แท่นชวาล
75. มารีอา สุวลักษณ์ วงษ์สวนน้อย

โอ้…ท่านนักบุญเทเรซา(น้อย) แห่งพระกุมารเยซู

โปรดประทานดอกกุหลาบจากสวนสวรรค์แก่ข้าพเจ้า

เปรียบประดุจดังสัญญาณแห่งความรักต่อข้าพเจ้า

โอ้…ดอกไม้น้อยขององค์พระเยซู

ในวันนี้โปรดวิงวอนขอจากองค์พระผู้เป็นเจ้า

ได้โปรดทรงพระเมตตาต่อข้าพเจ้า

พระเมตตาซึ่งบัดนี้ข้าพเจ้าขอมอบฝากไว้ด้วยความไว้วางใจ

ให้อยู่ในคำเสนอวิงวอนของท่าน

(เอ่ยถึงความต้องการต่าง ๆ ทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิต)

โอ้…ท่านนักบุญเทเรซา

โปรดช่วยข้าพเจ้าให้มีความเชื่อมั่นคงเยี่ยงท่าน

ในความรักอันยิ่งใหญ่ขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงมีต่อข้าพเจ้า

เพื่อข้าพเจ้าจะได้เลียนแบบ “ทางสายน้อย” ของท่าน

ในชีวิตแต่ละวันของข้าพเจ้า อาแมน

(ข้าแต่พระบิดา 1 ครั้ง /วันทามารีอา 1 ครั้ง สิริพึงมี 3 ครั้ง)

(นักบุญเทเรซา แห่งพระกุมาเยซู ช่วยวิงวอนเทอญ 3 ครั้ง)

การสวดสายประคำ น.เทเรซาแห่งพระกุมารเยซู (เป็นบทนพวาร)

ก่อนการสวด ให้สวดบท ข้าแต่พระบิดา 1 ครั้ง วันทามารีอา 1 ครั้ง

ลูกประคำ 24 เม็ด ให้สวดบท สิริพึงมี… สลับกับบทภาวนาว่า “นักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู ช่วยวิงวอนเทอญ”

นพวารนี้ แนะนำใ้ห้สวดในวันที่ 9 – 17 ของแต่ละเดือน เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงที่สมาชิก และสัตบุรุษ ส่วนมากทำนพวาร ดังนั้น คำภาวนาทั้งหมด จะได้รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน

3 มกราคม
บุญราศี คูริอาคอส เอลีอาส ชาวารา พระสงฆ์

บุญราศี คูริอาคอส เป็นผู้ร่วมก่อตั้งคณะนักบวชคาเมไลท์ แห่งแม่พระปฏิสนธิ์นิรมล (The Congregation of the Carmelites of Mary Immaculate) และเป็นอธิการคนแรกของคณะ ท่านเกิดที่ Kainakary แคว้น Kerala ประเทศอินเดีย เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1805 เข้าบ้านเณรปี ค.ศ.1818 รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ปี ค.ศ.1829 ได้ก่อตั้งอารามแห่งแรกที่เมือง Mannanam ปี ค.ศ.1831 และได้มีการปฏิญาณตนของนักบวชในคณะเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1855 ท่านได้ดำรงตำแหน่งผู้แทนอัคราธิการ (Vicar General) แขวง Syro-Malabar นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1861 และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งคณะภคินีแห่งแม่พระคาร์แมล (The Sisters of the Congregation of the Mother of Carmel) ปี ค.ศ.1866 ท่านได้ปกป้องเอกภาพของพระศาสนจักรในแขวง Syro-Malabar โดยต่อต้านพวก Rochos ที่สอนความเชื่อผิดหลง ตลอดชีวิตท่านได้ทำงานเพื่อฟื้นฟูชีวิตจิตของพระศาสนจักรในแขวงดังกล่าว ท่านเป็นแบบอย่างในการภาวนา มีความศรัทธาร้อนรนต่อศีลมหาสนิท และมีความรักต่อพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธิ์นิรมลเป็นพิเศษ ท่านถึงแม่มรณภาพที่ Koonammavu ปี ค.ศ.1871 ศพของท่านถูกนำมาฝังไว้ที่ Mannanam ในปี ค.ศ.1889

8 มกราคม
น.เปโตร โธมัส พระสังฆราช

เปโตร โธมัส เกิดในราวปี ค.ศ.1305 ทางตอนใต้ของเมืองเปรีกอร์ด ประเทศฝรั่งเศล ได้เข้าบวชในคณะคาร์แมลเมื่ออายุ 21 ปี สันตะสำนักที่อาวีญองได้แต่งตั้งท่านเป็นเหรัญญิกของคณะในปี ค.ศ.1347 ต่อมาในปี ค.ศ.1354 ท่านได้รับอภิเษกเป็นพระสังฆราชแห่งปัตตีและลีปารี หลังจากนั้นบ่อยครั้งท่านได้เป็นผู้แทนสมเด็จพระสันตะปาปา ทำหน้าที่เสริมสร้างสันติภาพและความเป็นหนึ่งเดียวกัน ระหว่างพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกกับพระศาสนจักรตะวันออก โดยในปี ค.ศ.1359 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆราชแห่งโคโรนในเปเลปอนเนซุส และเป็นผู้แทนสมเด็จพระสันตะปาปาในพระศาสนจักรตะวันออก ในปี ค.ศ.1363 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆราชแห่งครีต และในปี ค.ศ.1364 ได้เป็นพระอัยกาแห่งคอนสตันติโนเปิล ในตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ท่านได้ทำหน้าที่เป็นธรรมทูตที่ดีเด่นในการเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในกลุ่มคริสตชน ท่านได้ถึงแก่มรณภาพที่ฟามากอสตาในเกาะไซปรัสในปี ค.ศ.1366

9 มกราคม
น.อันดรูว์ คอร์ซินี พระสังฆราช

อันดรูว์ คอร์ซินี เกิดในตอนต้นของศตวรรษที่ 4 ที่เมืองฟลอเรนซ์ประเทศอิตาลี ที่เมืองนี้เองท่านได้สมัครเป็นนักบวชคาร์เมไลท์ ในการประชุมใหญ่ที่เมืองเมทส์ในปี ค.ศ.1348 ท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าคณะแขวงแห่งแคว้นทัสกานี ในวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ.1349 ท่านได้เป็นพระสังฆราชแห่งเมืองฟีโซล ท่านได้มอบแบบอย่างที่ดีเด่นในเรื่องความรัก ความร้อนรน และความสุขุมรอบคอบในงานธรรมทูต และความรักต่อคนยากจน ท่านได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ.1374

เชิญสมาชิกฯ ร่วมประชุมตามปกติ ในวันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม 2010 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้นใต้ดิน สำนักมิสซังคาทอลิก กรุงเทพฯ

วิทยากรที่มาแบ่งปัน : คพ. สมเกียรติ ตรีนิกร

ผู้สนใจ ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก ขอเรียนเชิญเข้าร่วมประชุมได้นะคะ (ไม่เสียค้่าใช้จ่ายใดๆ) ยินดีต้อนรับเสมอค่ะ

องค์อุปถัมภ์ คณะฆราวาสคาร์เมไลท์แห่งกรุงเทพฯ ได้แก่ แม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล
คณะฆราวาสคาร์เมไลท์แห่งกรุงเทพฯ ดำเนินชีวิตและดำเนินงานตามธรรมนูญของคณะฆราวาสคาร์เมไลท์แห่งแม่พระภูเขาคาร์แมล และนักบุญเทเรซา แห่งพระเยซูเจ้า

ระเบียบปฏิบัติเรื่องของการอบรม (formation)

  • ประชุมเดือนละครั้ง โดยกำหนดเป็นวันอาทิตย์ที่ 1 ของทุกเดือน ตั้งแต่เวลา 10.00 – 12.00 น. ในระหว่างการประชุมจะมีโปรแกรมสำหรับการพัฒนาสมาชิก ในด้านรำพึงภาวนา ชีวิตจิต จิตตารมณ์ของคณะ ฯ และการร่วมมือในงานแพร่ธรรม (ดูการประชุมคณะฆราวาสคาร์เมไลท์)
  • การเข้าเงียบประจำปี โดยกำหนดให้เป็นเวลาปีละ 3 วันเป็นอย่างน้อย

ระเบียบปฏิบัติเรื่องการรับสมาชิกใหม่

  • สมาชิกใหม่ถือตามธรรมนูญของคณะ ฯ เลขที่ 15
  • อธิการจะเป็นผู้แนะนำตัว และประกาศรับสมาชิกใหม่เข้ารับการอบรมในคณะฯ อย่างเป็นทางการในวันประชุม วัน/เวลาของการอบรม ให้เริ่มนับตั้งแต่วันประกาศนี้
  • สมาชิกใหม่จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และไม่มากกว่า 70 ปีบริบูรณ์ หรือมิฉะนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิการิณี คณะคาร์เมไลท์ แห่งกรุงเทพฯ

การเลือกตั้งและหน้าที่รับผิดชอบของคณะที่ปรึกษา

  • การเลือกตั้งอธิการและคณะที่ปรึกษา ให้ถือตามธรรมนูญ เลขที่ 36
  • การเลือกตั้งให้ดำเนินการโดยการลงคะแนนลับ เพื่อแสดงความเคารพต่อเสรีภาพของผู้ออกเสียง ผู้ที่ได้รับเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งเป็นผู้ได้รับเลือก
  • ผู้มีสิทธิออกเสียง ได้แก่ ผู้ที่ปฏิญาณสัญญาครั้งแรกแล้ว

ผู้มีสิทธิรับเลือก มีคุณสมบัติดังนี้ :-

  • ผู้ที่ปฏิญาณสัญญาตลอดชีพแล้ว
  • เป็นผู้ที่ไม่มีข้อสะดุดต่าง ๆ ในฐานะคริสตชน
  • เมื่อผู้ได้รับเลือกลาออก เสียชีวิต หรือขาดคุณสมบัติ ต้องมีการเลือกตั้งตำแหน่งนั้นใหม่ เพื่อเป็นการเลือกตั้งซ่อม โดยจะหมดวาระหน้าที่พร้อม ๆ กับผู้ที่ได้รับเลือกไว้แล้ว

เมื่อสมาชิกของคณะ ฯ เสียชีวิต

  • เลขานุการต้องรีบแจ้งการเสียชีวิตของสมาชิกให้ทุกคนได้รับทราบ
  • สวดภาวนาอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับร่วมกัน ในระหว่างการประชุมเดือนต่อไป
  • คณะ ฯ ขอมิสซาอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับโดยส่วนรวมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ทุกวันที่ 2 พฤศจิกายน ของทุกปี (วันผู้ล่วงลับ) สมาชิกทุกคนรับพระคุณการุญครบบริบูรณ์อุทิศแด่สมาชิกผู้ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการ :-

  • ร่วมถวายบูชามิสซา (แก้บาป-รับศีล)
  • สวดภาวนาตามจุดประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปา

การกำหนดจำนวนสูงสุดของคณะฆราวาสคาร์เมไลท์แห่งกรุงเทพฯ

  • หากคณะฆราวาสคาร์เมไลท์ แห่งกรุงเทพฯ มีจำนวนเกินกว่าสมาชิกที่เข้าประชุมสม่ำเสมอเกินกว่า 70 คน ให้แบ่งคณะ ฯ ออกเป็น 2 กลุ่ม

แบบฟอร์มและเครื่องหมายภายนอกของสมาชิก

  • สายจำพวก (Scapular) หรือเหรียญจำพวก สำหรับสมาชิกใหม่
  • เสื้อของคณะ ฯ (แบบเล็ก) สำหรับสมาชิกที่ถวายคำปฏิญาณสัญญาครั้งแรก
  • เสื้อของคณะ ฯ (แบบใหญ่) สำหรับสมาชิกที่ถวายคำปฏิญาณสัญญาตลอดชีวิต

แบบฟอร์มนี้ สมาชิกทุกคนสวมทุกครั้งในการเข้าเงียบประจำปี และในงานทางการของคณะคาร์แมล

  • สมาชิกจะต้องสวดสายประคำวันละหนึ่งสายทุกวัน
  • สมาชิกจะต้องรำพึงภาวนาวันละ 30 นาที ทุกวัน
  • ให้สมาชิกพยายามร่วมถวายบูชามิสซาและรับศีลมหาสนิททุกวัน
  • เพิ่มพูนความรู้ ความรัก ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับจารีตพิธีทางศาสนา นอกจากวันที่

พระศาสนจักรได้กำหนดไว้แล้ว ให้สมาชิกทุกท่านอดเนื้อตามรายการดังต่อไปนี้ :-

  • วันที่ 15 กรกฎาคม คือวันก่อนฉลองแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล
  • วันที่ 14 ตุลาคม คือวันก่อนฉลองนักบุญเทเรซา แห่งอาวิลา
  • วันที่ 13 พฤศจิกายน คือวันก่อนฉลองนักบุญทั้งหลายของคณะคาร์แมล
  • วันที่ 13 ธันวาคม คือวันก่อนฉลองนักบุญยวง แห่งไม้กางเขน

ระเบียบปฏิบัตินี้จะต้องได้รับการทบทวน แก้ไข เพิ่มเติม ทุก ๆ 2 ปี และจะต้องได้รับ
การรับรองจากอธิการิณีอารามคาร์แมลกรุงเทพฯ

god-01god-02god-03god-04god-05god-06god-07god-08

ประตูด้านหน้าของอาราม...Welcome จ้า

ประตูด้านหน้าของอาราม...Welcome จ้า

บริเวณอาคารด้านนอก จะมีห้องอาหาร และที่พัก

บริเวณอาคารด้านนอก จะมีห้องอาหาร และที่พัก

ไผเป็นไผ...ไปทายกันเอาเองเด้อ

ไผเป็นไผ...ไปทายกันเอาเองเด้อ

close-up ให้เห็นกันจะจะไปเลย...ขออนุญาตวันหนึ่งนะคะ เซอร์..

close-up ให้เห็นกันจะจะไปเลย...ขออนุญาตวันหนึ่งนะคะ เซอร์..

อีกมุมหนึ่ง...

อีกมุมหนึ่ง...

คุณพ่อสุรชัย และคุณพ่อประยุทธ จิตตาธิการ ร่วมสนทนา (ธรรม?)

คุณพ่อสุรชัย และคุณพ่อประยุทธ จิตตาธิการ ร่วมสนทนา (ธรรม?)

อธิการิณี กับแม่ชี...Holy พอๆกันเลย...^_^

อธิการิณี กับแม่ชี...Holy พอๆกันเลย...^_^

พระแท่นของวัดน้อย...พระเยซูเจ้าเสด็จกลับคืนพระชนมชีพ...มองแล้วให้ความหวังมากๆ

พระแท่นของวัดน้อย...พระเยซูเจ้าเสด็จกลับคืนพระชนมชีพ...มองแล้วให้ความหวังมากๆ

คุณพ่อสุรชัย บรรยายประวัติของคณะ และนำสวดภาวนา ต่อหน้าไม้กางเขนด้านข้างพระแท่น ขนาบด้วย น.ยอห์น แห่งไม้กางเขน และ น.เทเรซา แห่งอาวิลลา

คุณพ่อสุรชัย บรรยายประวัติของคณะ และนำสวดภาวนา ต่อหน้าไม้กางเขนด้านข้างพระแท่น ขนาบด้วย น.ยอห์น แห่งไม้กางเขน และ น.เทเรซา แห่งอาวิลลา

คณะฆราวาสคาร์เมไลท์ชั้นสามแห่งกรุงเทพฯ ที่ร่วมเดินทางในวันนั้น

คณะฆราวาสคาร์เมไลท์ชั้นสามแห่งกรุงเทพฯ ที่ร่วมเดินทางในวันนั้น

1) ประชุมครั้งต่อไปวันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน 2009 ที่สักการสถานบุญราศี นิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง

2)ขอเลื่อนวันทำพิธีรับเสื้อเล็กของสมาชิกคณะ จำนวน 5 ท่าน และพิธีถวายตัวตลอดชีพของสมาชิก (รับเสื้อคลุม) จำนวน 2 ท่าน จากเดิม เป็น วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน 2009 เวลา 15.00 น. ณ อารามคาร์แมล สีลม (มีพิธีมิสซา บูชาขอบพระคุณ)

สมาชิกทุกท่านที่รับเสื้อแล้ว ขอให้แต่งชุดของคณะด้วย

เรียนเชิญทุกท่าน และบุคคลทั่วไป ร่วมพิธีในครั้งนี้ และร่วมภาวนาเพื่อกระแสเรียกของสมาชิกคณะฯ ด้วย

scapular

เสื้อจำพวกแห่งภูเขาคาร์แมล

            เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1251 ในขณะที่คณะคาร์เมไลท์กำลังตกอยู่ในอันตราย ที่จะแตกสลาย ตกต่ำ และกำลังประสบกับการเบียดเบียน พระมารดาของพระเจ้าได้ประจักษ์มาแก่นักบุญ ซีมอน สต็อก (Simon Stock) และได้มอบ “เสื้อจำพวก” (the Holy Brown Scapular) พร้อมทั้งคำสัญญาอันล้ำค่า ดังนี้ :-

            “ลูกรัก จงรับเสื้อจำพวกของคณะฯนี้ไว้ อันเป็นสิทธิพิเศษสำหรับลูก ๆ คณะคาร์แมล ผู้ใดก็ตามเสียชีวิตขณะที่สวมเสื้อจำพวกนี้ จะไม่ต้องทนทุกข์ทรมานในไฟนิรันดรเป็นอันขาด เสื้อจำพวกนี้เป็นเครื่องหมายแห่งความรอด เป็นเครื่องป้องกันในยามอันตราย เป็นคำสัญญาแห่งการปกป้องพิเศษ”

            นอกจากคำสัญญานี้แล้ว ปัญหาต่าง ๆ ในคณะฯก็สิ้นสุดลงด้วย

ท่านได้ก่อตั้ง “คณะภราดรภาพแห่งเสื้อจำพวก” ขึ้น ท่านได้รับการเตือนสอนจากพระนางพรหมจารีมารีอา ในการประจักษ์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1251 ที่ Cambridge ชาวคาทอลิกและคาร์เมไลท์ในเวลานั้นกำลังได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรง พระนางมารีอาได้ตรัสแก่ท่านซีมอนให้ก่อตั้งความศรัทธานี้ คณะภราดรภาพ (Confraternity) นี้ ได้รับการรับรองและเป็นที่ศรัทธาโดยพระสันตะปาปาหลายพระองค์ กฎเกณฑ์ที่เสนอให้สมาชิกปฏิบัติ โดยมิได้บังคับใด ๆ ก็เรียบง่าย นั่นคือ

–  สมาชิกสวมเสื้อจำพวก (อย่างลับ ๆ) ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของคณะฯ

–  สวดทำวัตรต่อแม่พระ หรือบททำวัตรของพระศาสนจักร เป็นประจำทุกวัน หากว่าเป็นไปไม่ได้ ให้สวดบท “ข้าแต่พระบิดา” “วันทามารีอา” และ “สิริพึงมีแด่พระบิดา” 7 รอบ แทนการสวดทำวัตรที่กฎหมายพระศาสนจักรบัญญัติให้ปฏิบัติ 7 ครั้งต่อวัน

–  สมาชิกต้องอดเนื้อในวันพุธ วันศุกร์ และวันเสาร์ หากว่าไม่สามารถทำได้ ก็ให้สวดภาวนา “ข้าแต่พระบิดา” “วันทามารีอา” และ “สิริพึงมีแด่พระบิดา” 7 รอบ แต่ 2 ครั้ง

            สมาชิกคณะคาร์เมไลท์เชื่อว่า ผู้ใดก็ตามที่สวมใส่เสื้อจำพวกแห่งภูเขาคาร์แมล จะรอดพ้นจากไฟชำระในวันอาทิตย์หลังจากความตาย ซึ่งเรียกกันว่า “Sabbath Indulgence” ท่านซีมอนได้รักษาคนป่วยมากมายด้วยการมอบเสื้อจำพวกให้ การกระทำดังนี้ ทำให้กษัตริย์ Edward ที่ 1 แห่งประเทศอังกฤษ และพระเจ้าหลุยส์แห่งประเทศฝรั่งเศส เข้าเป็นสมาชิกในคณะภราดรภาพนี้ด้วย

เสื้อจำพวกได้รับการรับรองจากพระศาสนจักร

            เสื้อจำพวกนี้เป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นถึงการปกปักรักษาของพระนางมารี พระมารดาของพระเจ้า และเป็นเครื่องหมายแห่งความรอด ความศรัทธา 3 ประการที่พึงมีต่อพระนางมารีอา ได้แก่ :-           

– การถวายเกียรติ (Homage)

–  ความวางใจ (Confidence)

–  ความรัก (Love)

          ทุกครั้งที่เราสวมเสื้อจำพวกนี้ ก็เท่ากับเราได้ถวายเกียรติแด่แม่พระด้วยการเป็นสมาชิกของกองทัพแห่งพระราชินีผู้นี้ เราปฏิญาณความซื่อสัตย์ และมอบความวางใจในคำสัญญาของพระนาง และเป็นบุตรแห่งความรักอย่างพิเศษของพระนางด้วย ด้วยการสวมเสื้อจำพวกนี้ไปจนตลอดชีวิต เราแสดงให้พระนางเห็นว่าเราเคารพยกย่องพระนาง เชื่อในพระนาง และรักพระนาง

            ในปี ค.ศ. 1910 พระสันตะปาปา ปีโอ ที่ 10 ประกาศว่า เสื้อจำพวกสามารถใช้เหรียญจำพวกแทนได้ โดยให้มีด้านหนึ่งของเหรียญนั้นมีรูปพระนางมารีอา ข้อยกเว้นนี้ใช้ได้เฉพาะในประเทศที่มีอากาศร้อนมากเท่านั้น พระองค์ยังตรัสอีกว่า :“เราเชื่อในภาพนิมิตแห่งเสื้อจำพวก และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าจะสวมเสื้อจำพวกนี้เสมอไป”

            พระสันตะปาปา เบเนดิ๊กต์ ที่ 15 มีความรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องการใช้เหรียญจำพวก จึงตัดสินใจทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้ชัดเจน โดยสอนว่า เหรียญจำพวกไม่สามารถที่จะนำมาใช้แทนเสื้อจำพวกได้ ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นอย่างที่สุด พระองค์ประกาศเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1916 ว่า : “เพื่อให้ทุกคนทราบว่า เป็นความปรารถนาของเราที่จะให้ทุกคนสวมเสื้อจำพวก เราจึงขอให้พระหรรษทานพิเศษแด่ผู้สวมใส่ ซึ่งพระหรรษทานนี้ ผู้ใส่เหรียญจำพวกจะไม่สามารถได้รับ” นอกจากนี้ พระสันตะปาปา เบเนดิ๊กต์ ที่ 15 ยังได้มอบพระคุณการุญ 500 วันแด่ผู้ที่จูบเสื้อจำพวกทุกครั้ง วันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1916 อันเป็นวันฉลองเสื้อจำพวก พระองค์ตรัสกับบรรดาสามเณรแห่งกรุงโรมว่า : “ขอให้พวกท่านทุกคนมีภาษาเดียวกัน มีเหรียญคุ้มครองอันเดียวกัน ภาษานั้นหมายถึงพระวาจาในพระวรสาร เหรียญคุ้มครองได้แก่ เสื้อจำพวกแห่งภูเขาคาร์แมล ซึ่งพวกท่านควรจะสวมใส่ เพื่อจะได้รับการปกป้องพิเศษไปจนกระทั่งหลังความตาย”

            พระสันตะปาปา เลโอ ที่ 11 เคยตรัสขณะเปลี่ยนชุดพระสันตะปาปา และเจ้าหน้าที่ได้นำเสื้อจำพวกของพระองค์ออกไปด้วย ว่า : “ปล่อยให้เสื้อจำพวก (แม่พระ) อยู่กับฉันเถอะ มิฉะนั้น พระนางจะทิ้งฉันไป” (Leave me Mary (the Scapular) lest Mary leave me)

            นักบุญ ยวง เวียนเนย์ และนักบุญ Claude de la Colombière ต่างก็ขอความคุ้มครองจากเสื้อจำพวกนี้ เพื่อให้พ้นจากการประจญล่อลวง และเพื่อจะได้รับความรอดอย่างแน่นอน ในสมณสาสน์ของพระสันตะปาปา ปีโอ ที่ 12 ได้กล่าวถึงเสื้อจำพวกในฐานะที่เป็นเครื่องหมายแห่งการถวายตนแด่พระหฤทัยอันนิรมลของพระนางมารีย์ พระสันตะปาปา เลโอที่ 13 สนับสนุนให้สวมเสื้อจำพวก โดยการมอบพระคุณการุญครบบริบูรณ์ อุทิศให้แก่วิญญาณในไฟชำระ แด่ทุกคนที่เยี่ยมวัดคาร์แมลในวันฉลองเสื้อจำพวก คือวันที่ 16 กรกฎาคม พระสันตะปาปา เปาโล ที่ 6 เคยตรัสว่า : “พระศาสนจักรสอนสั่งเสมอในเรื่องความศรัทธาภักดีที่มีต่อพระนางพรหมจารีมารีอา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสวดสายประคำ และการสวมเสื้อจำพวกแห่งภูเขาคาร์แมล”

            ครั้งหนึ่ง คุณพ่อ Claude แห่งคณะคาร์แมลสวมรองเท้า มีโอกาสคุยกับซิสเตอร์ ลูซีอา ผู้ได้รับการประจักษ์ที่ฟาติมาของแม่พระ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1950 คุณพ่อถามว่า : “ซิสเตอร์ต้องการจะบอกว่า การสวมเสื้อจำพวกไม่ใช่เพียงแค่บางสิ่งที่พระมารดาต้อง การให้เราทำเท่านั้น แต่ว่าเป็นใจความสำคัญแห่งข่าวสารของพระนางเอง?” ซิสเตอร์ ลูซีอา ตอบว่า : “ถูกต้องที่สุด ไม่มีใครสามารถทำตามข่าวสารแห่งฟาติมาได้ นอกเสียจากว่าจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข 5 ประการ และเงื่อนไข 1 ใน 5 ประการนั้น ได้แก่ การสวมเสื้อจำพวกตลอดเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน”

คุณค่าและความหมายของเสื้อจำพวก

            พระสันตะปาปา เบเนดิ๊กต์ ที่ 14 ในโอกาสฉลองพระนางพรหมจารีมารีอา ได้ทรงประกาศว่า พระองค์เชื่ออย่างเต็มเปี่ยมถึงภาพนิมิตของพระนางที่มีต่อท่านนักบุญ ซีมอน สต็อค อีกครึ่งศตวรรษต่อมา พระนางมารีย์ได้ทรงเผยแสดง และสัญญากับพระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 22 ว่า พระนางจะช่วยสมาชิกคณะภราดรภาพแห่งเสื้อจำพวกให้พ้นจากไฟชำระโดยเร็วที่สุด และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวันเสาร์แรกหลังจากความตาย

            ตามถ้อยคำของพระนางมารีย์นี้ เราจะได้รับประโยชน์ 4 ประการจากเสื้อจำพวก

1.   เสื้อจำพวกเป็นการปกป้องและคำสัญญาแห่งการพิทักษ์รักษาให้พ้นจากอันตราย ทั้งทางกายและวิญญาณ (มีอัศจรรย์เกี่ยวกับเสื้อจำพวกหลายเรื่องที่พิสูจน์เรื่องนี้)

2.   เสื้อจำพวกเป็นเครื่องหมายแห่งความรอด ซึ่งหมายความว่า ผู้ใดก็ตามที่สวมเสื้อจำพวกในขณะที่เสียชีวิตจะได้รับความรอด ผู้ชอบธรรมจะได้รับพระหรรษทานแห่งความพาก เพียรจนถึงที่สุดจากแม่พระ และสำหรับคนบาป เขาจะได้รับพระหรรษทานแห่งการกลับใจ และได้รับสถานะแห่งพระหรรษทาน เขาจะได้พบพระสงฆ์เพื่อแก้บาป หรือจะได้รับการเป็นทุกข์ถึงบาปบริบูรณ์ก่อนตาย

3.   เสื้อจำพวกให้เรามั่นใจได้ว่าจะพ้นจากไฟชำระโดยเร็ว

4.   เสื้อจำพวกจะทำให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในกิจการดี การใช้โทษบาป คุณงามความดีต่าง ๆ ซึ่งสมาชิกในคณะคาร์เมไลท์ได้กระทำ

            แต่เดิมนั้น เสื้อจำพวกจะถูกมอบให้แก่สมาชิกของคณะคาร์เมไลท์เท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้ ใครก็ตามที่ได้รับเสื้อจำพวกจากพระสงฆ์ ก็จะได้รับคุณประโยชน์จากเสื้อจำพวกนี้เช่นกัน รูปแบบของเสื้อจำพวกในสมัยก่อนนี้ เป็นเสื้อที่ทำด้วยขนแกะ คลุมไหล่ลงมาถึงเท้าทั้งด้านหน้าและด้านหลัง คล้าย ๆ กับเสื้อผ้าของนักบวช แต่ปัจจุบันนี้มีขนาดเล็ก แต่ก็ยังต้องทำจากขนแกะ และต้องคลุมไหล่ลงมาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

            เพื่อที่จะได้รับสิทธิพิเศษที่จะหลุดพ้นจากไฟชำระโดยเร็ว ตาม Bulla Sabbatina (The First Saturday) มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติคุณธรรมแห่งความบริสุทธิ์ตามฐานะชีวิตของตน ต้องสวดทำวัตรพระนางพรหมจารีมารีย์ หากไม่สามารถสวดทำวัตรได้ ก็ให้อดอาหารวันพุธและวันศุกร์แทน หรือทำกิจศรัทธาบางอย่าง ซึ่งพระสงฆ์ผู้มีหน้าที่เป็นผู้กำหนด เช่น การสวดสายประคำประจำวัน เป็นต้น

ความหมายทางเทววิทยาของเสื้อจำพวก

1.   เสื้อจำพวกเป็นเสื้อผ้าของนักบวช เป็นเครื่องหมายของการถวายตนแด่แม่พระ และหนทางชีวิตของพระนาง โดยผ่านทางเสื้อจำพวกนี้ เราได้เข้ามาสู่พันธสัญญาแห่งความรักและไว้วางใจในพระนางมารีอา เสื้อจำพวกเป็นเครื่องหมายของคณะคาร์แมล และเป็นเครื่องหมายแห่งการคุ้มครองป้องกันของพระมารดามาช้านาน มีความหมายทางชีวิตจิต และได้รับการรับรองจากพระศาสนจักร

–  เสื้อจำพวก    หมายถึง การอุทิศตนติดตามองค์พระเยซูเจ้า เช่นเดียวกับพระนางมารีย์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ของบรรดาศิษย์พระเยซูเจ้า การอุทิศตนนี้มีจุดกำเนิดอยู่ที่ศีลล้างบาป ซึ่งทำให้เราทุกคนเป็นบุตรพระเจ้า

–  เสื้อจำพวก    นำพวกเราทุกคนเข้ามาสู่ประชาคมนักบวชชายและหญิง ซึ่งมีอยู่ในพระศาสนจักรเป็นเวลานานกว่า 8 ศตวรรษ นั่นคือ คณะคาร์แมล

–  เสื้อจำพวก    เตือนใจเราให้ระลึกถึงแบบอย่างของบรรดานักบวชแห่งคาร์แมล และทำให้เรามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ในฐานะพี่และน้องต่อกันและกัน

–  เสื้อจำพวก    เป็นการแสดงออกซึ่งความเชื่อของเรา ว่า เราจะพบกับพระเจ้าในชีวิตนิรันดร โดยผ่านทางความช่วยเหลือ คำภาวนาวอนขอของพระนางมารีย์ พระมารดา

–  เสื้อจำพวก    เป็นเครื่องหมายแห่งการปกป้องคุ้มครองของพระนางมารีย์ และเครื่องหมายแห่งการเป็นสมาชิกในครอบครัวคาร์แมล และสมาชิกจะดำเนินชีวิตตามน้ำพระทัยของพระเจ้าด้วยความเต็มใจ

2.   คำสอนแห่งพระนางพรหมจารีมารีย์

–  จงเปิดใจต่อพระเจ้า และน้ำพระทัยของพระองค์ ซึ่งแสดงต่อเราโดยทางเหตุการณ์ประจำวัน

–  รับฟังพระวาจาของพระองค์ในพระคัมภีร์และในชีวิต เชื่อพระวาจา และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันของเรา

–  จงสวดภาวนาอยู่เสมอ เพื่อจะได้พบกับการสถิตอยู่ของพระเจ้าในทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา

–  จงเอาใจใส่ ดูแล ความต้องการของเพื่อนพี่น้องอยู่เสมอ

กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับเสื้อจำพวก

1.   การรับเสื้อจำพวกนี้รับได้เพียงครั้งเดียว โดยรับจากพระสงฆ์ หรือผู้มีอำนาจหน้าที่

2.   เสื้อจำพวกนี้สามารถแทนที่ได้โดยเหรียญจำพวก ซึ่งด้านหนึ่งเป็นรูปของพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า และอีกด้านหนึ่งเป็นรูปของพระแม่มารีย์ ในกรณีที่มีเหตุผลจำเป็น และได้รับความเห็นชอบจากพระสงฆ์ผู้มีอำนาจหน้าที่

3.   เสื้อจำพวกรวมเราให้มีชีวิตคริสตชนที่แท้ ด้วยการดำเนินชีวิตตามคำสอนแห่งพระวรสาร การรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ มีความศรัทธาพิเศษต่อพระแม่มารีย์ ซึ่งเราแสดงออกด้วยการสวดบทวันทามารีอา 3 บททุกวัน

กฎเกณฑ์ทั่วไปของพระศาสนจักรเกี่ยวกับเสื้อจำพวกขนาดเล็ก (General Ecclesiastical Regulations concerning the Small Scapulars)

เสื้อจำพวกขนาดเล็ก ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ผืนผ้าที่ทำด้วยขนแกะ สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาว 2¾ นิ้ว และความกว้าง 2 นิ้ว ทั้ง 2 ส่วนนี้ถูกเชื่อมเข้าด้วยกันด้วยสายหรือแถบ เพื่อให้สามารถสวมให้ส่วนหนึ่งอยู่ด้านหน้า และอีกส่วนหนึ่งอยู่ด้านหลัง วัสดุที่ใช้ทำต้องทำมาจากผ้าทอขนแกะ และมีสีที่เป็นสีของเครื่องแบบคณะคาร์แมล

คณะฆราวาสคาร์เมไลท์ ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1476 โดยกฤษฎีกาของพระสันตะปาปา ซิกตุส ที่ 4 ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นฆราวาส และตอบสนองพระกระแสเรียกของพระ อุทิศตนด้วยใจอิสระและเสรี ในอันที่จะดำเนินชีวิตติดตามองค์พระเยซูเจ้า โดยยึดถือพรพิเศษ ขนบธรรมเนียม และจิตตารมณ์แห่งคณะคาร์แมล และอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของอธิการใหญ่แห่งคณะคาร์แมล (Prior General of the Carmelite Order)

            แม้ว่า จะไม่ต้องดำเนินชีวิตแบบนักบวชชาย (ชั้นที่ 1) และนักบวชหญิง หรือชีลับ (ชั้นที่ 2) แต่บรรดาสมาชิกก็เลือกที่จะดำเนินชีวิตตามคำสัญญาแห่งศีลล้างบาป โดยถือตามจิตตารมณ์แห่งคณะคาร์แมล สมาชิกทุกคนถือเป็นพี่น้องชาย-หญิง แห่งครอบครัวคาร์แมล และผู้ร่วมส่วนในกระแสเรียกไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ และร่วมส่วนในพันธกิจเดียวกับของคณะคาร์แมล สมาชิกทุกคนสัญญาที่จะนบนอบและดำเนินชีวิตแห่งพระวรสารด้วยจิตตารมณ์ของคณะคาร์แมล จึงอาจกล่าวได้ว่า สมาชิกกลุ่มนี้ เสมือนหนึ่งเป็น “นักบวชฆราวาส” จึงได้รับสถานภาพเป็นสมาชิก ชั้นที่ 3 แห่งคณะคาร์แมล

            คาร์เมไลท์ ชั้น 3 แบ่งออกเป็นหมู่คณะหรือกลุ่ม ๆ ภายใต้การนำของเจ้าคณะแขวงของคณะนักบวชคาร์เมไลท์ชาย หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ สมาชิกทุกคนจึงถูกเรียกให้เข้ามาสู่พันธกิจของพระศาสนจักร และมีส่วนช่วยให้โลกได้พบกับความศักดิ์สิทธิ์ ด้วยการแบ่งปันและมีส่วนร่วมอยู่ใน “พรพิเศษ” แห่งคณะคาร์แมล  คาร์เมไลท์ ชั้น 3 จึงเป็นหนทางชีวิตรูปแบบหนึ่ง และเป็นกระแสเรียกแบบหนึ่งด้วย

            “พรพิเศษ” นี้ ได้รับการดลบันดาbvm-050[1]ลใจ และมีรากฐานอยู่ที่ชีวิตของแม่พระเอง ผู้ซึ่งเป็นพระมารดาของพระเยซูเจ้า และอยู่ที่ประกาศกเอลียาห์ ผู้ซึ่งเป็นประกาศกแห่งภูเขาคาร์แมล

            พระนางมารีอาเป็นองค์อุปถัมภ์ของคณะฯ เป็นพี่สาวและมารดาแห่งสมาชิกคาร์เมไลท์ทั้งมวล ฆราวาสคาร์เมไลท์ดำเนินชีวิตแห่งความสัมพันธ์นี้กับพระนางมารีอา โดยการเลียนแบบฤทธิ์กุศล และคุณธรรมต่าง ๆ ของพระนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการฟังพระวาจาของพระเจ้าในชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกับที่พระนางเองได้ปฏิบัติ และในการปรารถนาความรอดมาสู่ปวงชน ฆราวาสคาร์เมไลท์ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในงานแห่งความรอดนี้เป็นพิเศษด้วย

            ประกาศกเอลียาห์ เป็นรูปแบบของชีวิตบำเพ็ญพรตและการสวดภาวนา เป็นตัวอย่างแห่งชีวิตรับใช้ การรับใช้นี้มีต้นกำเนิดอยู่ที่การภาวนาและความสัมพันธ์กับพระเจ้าอย่างลึกซึ้ง ฆราวาสคาร์เมไลท์ดำเนินชีวิตเป็นพยานถึงการสถิตอยู่ของพระเจ้าบนโลกนี้

            ฆราวาสคาร์เมไลท์ ต้องเผชิญกับการท้าทายของโลก นั่นคือ ต้องพยายามนำเอาพร พิเศษของคณะคาร์แมลเข้ามาในชีวิตประจำวัน ดังนั้น พวกเขาจะต้องรับฟังพระวาจาของพระเจ้า และตอบสนองความรักของพระองค์ด้วยการสวดภาวนา ทั้งส่วนตัวและในพิธีกรรมร่วมกัน นอกจากนี้ พวกเขายังต้องดำเนินชีวิตด้วยการบำเพ็ญคุณธรรมความดีต่าง ๆ ด้วยใจสุภาพ และสม่ำเสมอ ท่ามกลางครอบครัว เพื่อน ๆ ในที่ทำงาน และในสังคมต่าง ๆ ที่เขามีชีวิตอยู่